
คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส (Christopher Columbus) นักสำรวจชาวอิตาเลียนผู้ค้นพบทวีปอเมริกาในยุคใหม่
ประวัติโดยย่อ
คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส (Christopher Columbus)โคลัมบัสเกิดที่เมืองเจนัว ประเทศอิตาลีเมื่อปี 1994 ในสมัยนั้นผู้คนยังเชื่อว่าโลกแบน แต่โคลัมบัสต้องการค้นหาดินแดนแห่งเครื่องเทศและผ้าไหม ที่เรียกว่าอินเดียและจีน เขาจึงเสนอเป็นผู้สำรวจดินแดนดังกล่าวให้กษัตริย์โปรตุเกสแต่ไม่สำเร็จ จึงเดินทางไปประเทศสเปนและเสนอตัวต่อ พระเจ้าเฟอร์ดินานด์ ที่ 2(Ferdinand II of Aragon) และ พระนางอิสซาเบลลา ที่ 1 (Isabella of Castile) เพื่อออกสำรวจอินเดียและจีน เพื่อทำการค้าเครื่องเทศและผ้าไหม
การเดินทางของโคลัมบัสเริ่มต้นด้วยเรือ 3 ลำและลูกเรือ เรือลำที่มีดาดฟ้ามีชื่อว่า “มารีกาลองค์” โคลัมบัสได้ตั้งชื่อใหม่ว่า “ซานตามาเรีย” ส่วนเรือเล็กอีกสองลำชื่อว่า นิญา และปินตา เรือซานตามาเรียมีลูกเรือ 40 คน เรือปินตามี26 คน เรือนิญามี 24 คน เรือทั้งสามลำออกจากท่าเล็กๆ ในเขตปาโลส เด ลา ฟรอนเตรา ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศสเปน เวลาผ่านไป 3 อาทิตย์ ทุกคนอ่อนล้า สถานการณ์จึงตึงเครียด แต่ในที่สุดประกายของความหวังก็มีให้เห็นเมื่อย่างเข้าสัปดาห์ที่ 4 ยามบนหอคอยเรือปินตาก็เห็นฝั่งทะเลอยู่ห่าง 10 กิโลเมตร ดินแดนแห่งนี้คือบาฮามาส เขาจึงเอาเรือเทียบฝั่งและขึ้นสำรวจประกาศเอาเป็นดินแดนเมืองขึ้นของสเปนเสีย โคลัมบัสขนานนามดินแดนแห่งนี้ว่า “ซานซัลวาดอร์”
หลังจากนั้นเขาออกเดินเรืออีกครั้ง และใช้เวลาทั้งสิ้น 36 วันจึงได้พบแผ่นดินใหม่ และโคลัมบัสเชื่ออย่างสนิทใจว่าที่นี่คือหมู่เกาะที่มาร์โคโปโลเขียนถึง การพบเกาะครั้งนี้ ทำให้โคลัมบัสเชื่อว่าเขามาใกล้ประเทศจีนมากแล้ว เขาจึงออกเดินทางสำรวจจากเกาะหนึ่งไปยังอีกเกาะหนึ่งสืบต่อไป โดยโคลัมบัสคิดว่าตนเองพบเกาะที่อยู่ใกล้ญี่ปุ่น จากนั้นเขาเดินเรือต่อไปจนถึงคิวบา “ชาวอินเดีย” เพราะคิดว่าตนเองได้แล่นเรือมาถึงมหาสมุทรอินเดียแล้ว สามเดือนภายหลังจากที่ค้นพบโลกใหม่เขากลับไปที่สเปนและนำเอาตัวอย่างทองคำและทรัพย์สมบัติอื่นๆและคนอินเดียพื้นเมือง 7 คน กลับไป โคลัมบัสได้รับการต้อนรับอย่างมีเกียรติ พระราชินีอิซาเบลลาประกาศถึงความสำเร็จนี้ว่า “มีความสำคัญ ยิ่งใหญ่เหลือคณา” เขาได้เดินทางกลับไปยังดินแดนใหม่ที่เขาพบอีกสามครั้ง โดยที่ไม่มีครั้งใดเลยที่เขาจะฉุกใจคิดว่า ดินแดนนี้คืออเมริกาในปัจจุบัน เพราะเขาเชื่อโดยสมัครใจว่าดินแดนที่เขาพบคือเอเชีย

การเดินทางครั้งสุดท้ายของโคลัมบัสสิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน ค.ศ. 1504 เมื่อเขาเดินทางกลับมาถึงเมืองซานลูกา เด บาร์ราเมดา ด้วยร่างกายที่อ่อนล้าและนัยน์ตาใกล้บอด เขาเสียชีวิตในวันที่ 20 พฤษภาคม ปี ค.ศ.1506 ที่เมืองบาญาโดลิด และถูกฝังที่อารามใกล้เซวิลล์ โดยทิ้งให้ดีเอโก บุตรชายคนโตสืบบรรดาศักดิ์ต่อจากเขา หลังการสิ้นชีวิตของเขา พระเจ้าเฟอร์ดินานด์ได้ทรงสร้างรูปอนุสรณ์เพื่อเป็นการรำลึกถึงเขา โดยจารึกคำอุทิศว่า
“โคลัมบัส ผู้คนพบโลกใหม่ให้กับราชวงศ์กัสตีญาและเลออง”
ต่อมาในปี ค.ศ. 1536 ศพของเขาถูกย้ายไปที่ฮิสปานิโอล่า และในปี ค.ศ. 1902 ถึงได้กลับมายังที่พักสุดท้ายในวิหาร เซวิลล์ ภายหลังได้มีการกำหนดให้วันที่ 12 ตุลาคมของทุกปี ซึ่งเป็นวันที่โคลัมบัสมาถึงอเมริกาเป็น “วันโคลัมบัส” มีการเฉลิมฉลองกันในสหรัฐอเมริกาและประเทศต่าง ๆ ในทวีปอเมริกาใต้
ประวัติอย่างละเอียด
คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส เป็นนักเดินเรือชาวเจนัว ที่เป็นหนึ่งในนักสำรวจเพื่อหาโลกใหม่ในอดีตสันนิษฐานกันว่าเขาเกิดเมื่อราว ค.ศ. 1451 เกิดและเติบโตที่เมืองเจนัว ซึ่งเป็นเมืองท่าสำคัญทางการค้าของประเทศอิตาลีในเวลานั้น บิดาของเขามีชื่อว่าโดเมนิโก โคลัมโบ เป็นชนชั้นกลางทำอาชีพทอขนสัตว์ที่เดินทางไปมาระหว่างเมืองเจนัวและซาโวนา ส่วนมารดามีชื่อว่าซูซานน่า ฟอนตานารอซโซ และโคลัมบัสยังมีพี่ชายที่ชื่อบาร์โธโลมิวอีกคนหนึ่งที่มีอาชีพเป็นนักทำแผนที่โลกอยู่ที่เมืองลิสบอนซึ่งเป็นเมืองท่าขนาดใหญ่และเป็นเมืองหลวงของประเทศโปรตุเกส
คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส เป็นทั้งนักเดินเรือและนักสำรวจทางทะเล เขาออกทะเลตั้งแต่อายุ 14 ปี พอมีอายุได้30 ปี เขาก็เป็นนักเดินเรือและผู้นำร่องที่เชี่ยวชาญมากคนหนึ่ง ด้วยวัยเพียง 13 ปีเขาก็คิดได้แล้วว่า การเดินทางไปเอเชียได้โดยมุ่งหน้าไปทางตะวันตกมีความเป็นไปได้ เขาได้รับแรงบันดาลใจจากเพื่อนของบรูเนลเลสกีที่ชื่อ เปาโล ทอสคาเนลลี อายุรแพทย์และนักบันทึกลักษณะต่างๆ ของจักรวาล ซึ่งความรู้ของทอสคาเนลลี อาจไม่ได้ยังประโยชน์อันใดต่อโคลัมบัส หากเขาไม่ได้ทำการค้นคว้าอย่างละเอียดถ้วนทั่วโดยตัวเองทั้งในเรื่องของ ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ จดหมายเหตุ ปรัชญา และศิลปะอื่นๆ
นอกจากนี้เขายังศึกษาบันทึกการเดินทางของมาร์โค โปโลและเซอร์ จอห์น ที่เคยเดินทางไปประเทศจีน แต่เส้นทางบกสู่เมืองจีนที่อธิบายไว้โดยโปโลนั้น ทำให้การค้าช้าและแพงขึ้น เขาจึงได้ตัดสินใจที่จะหาทางเลือกทางทะเลที่ทำให้ประหยัดเวลาขึ้นและราคาถูกลง จะว่าไปแล้วในยุคนั้นชาวยุโรปต้องการเดินทางไปยังอินเดียและคาเธย์หรือจีนในปัจจุบัน เพราะดินแดนเหล่านี้เต็มไปด้วยสินค้าที่มีมูลค่าสูงอย่างเช่น เครื่องเทศ ผ้า ไม้ และอัญมณี แต่การเดินทางในตอนนั้นเป็นการเดินทางทางบกจึงมีอุปสรรคมากมายประกอบกับต้องใช้ระยะเวลายาวนานทำให้มีนักสำรวจคิดที่จะเดินทางโดยเรือซึ่งต้องเดินเรืออ้อมผ่านทวีปแอฟริกาไป ด้วยเหตุนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 ชาวโปรตุเกสซึ่งกำลังรุ่งเรืองด้านแสนยานุภาพทางทะเล จึงได้พยายามค้นหาเส้นทางเดินเรืออ้อมทวีปแอฟริกาไปยัง อินเดีย โดยมุ่งไปทางทิศตะวันออก แต่ครั้งแล้วครั้งเล่าก็ยังไม่มีใครทำสำเร็จในการเดินทางอ้อม “แหลมแห่งพายุ” ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น “แหลมกู๊ดโฮป” ที่เต็มไปด้วยพายุปั่นป่วนที่อยู่ทางด้านใต้ของทวีปแอฟริกา
โคลัมบัสมีความเชื่อตรงกันข้าม เขาเชื่อว่าโลกนั้นมีรูปร่างเป็นทรงกลม และสามารถเดินทางไป อินเดีย ได้โดยการเดินเรือไปทางทิศตะวันตก ซึ่งความเชื่อนี้เป็นที่ขัดแย้งกับแนวความเชื่อในยุคนั้นว่าโลกนั้นมีรูปทรงแบน เขาวางแผนการเดินทางใหม่ขึ้นมาซึ่งต่างจากนักสำรวจคนอื่นโดยสิ้นเชิง เขาศึกษาการเดินเรือจากแหล่งความรู้ต่างๆ เท่าที่พอจะหาได้ เช่น จากคัมภีร์ไบเบิล วรรณกรรมโบราณ และหนังสือวิทยาศาสตร์ซึ่งมีอยู่น้อยเล่ม หรือแม้กระทั่งบันทึกการเดินทางของมาร์โคโปโล พ่อค้าชาวเวนิสผู้เดินทางไปถึงทวีปเอเชียได้สำเร็จและเล่าถึงเส้นทางสายไหม และพูดคุยกับกะลาสีเรือ ท้ายที่สุดเขาตัดสินใจว่าเขาสามารถค้นพบเอเชียได้เร็วกว่าโดยการแล่นเรือไปทางทิศตะวันตกโดยการข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกไป

หลังจากที่เขามั่นใจในแผนการเดินเรือครั้งนี้แล้ว ก็ได้เข้าพบกษัตริย์แห่งโปรตุเกสเพื่อขอให้เป็นองค์อุปถัมภ์ ในเวลานั้นกษัตริย์แห่งโปรตุเกสคือพระเจ้าจอห์นที่ 2 ซึ่งใส่พระทัยรับฟังข้อเสนอแนะจากเหล่านักเดินเรือที่เข้ามาเสนอแผนการเดินเรือเป็นจำนวนมาก และทรงมีพระประสงค์ที่จะเผยแพร่ศาสนาคริสต์ไปยังดินแดนที่ค้นพบใหม่ แต่หลังจากที่พระองค์และคณะราชสภาได้อ่านแผนการเดินเรือของโคลัมบัสแล้ว ก็ไม่มีใครเชื่อว่าแผนการเดินเรือเช่นนั้นของเขาจะเป็นไปได้ ในตอนนั้นโคลัมบัสรู้สึกเสียใจมาก ซ้ำร้ายภรรยาของเขาก็เสียชีวิตลงอย่างกระทันหัน โคลัมบัสจึงได้นำดีเอโกบุตรชายวัย 5 ขวบของเขาเดินทางออกจากประเทศโปรตุเกสเพื่อไปพำนักกับญาติที่เมืองอัวล์บา เมืองท่าแห่งหนึ่งของประเทศสเปน และที่เมืองแห่งนี้โคลัมบัสได้เสาะหาความรู้เพิ่มเติมใหม่ๆ ด้วยการศึกษางานด้านจักรวาลวิทยา เปรียบเทียบแผนที่ทางภูมิศาสตร์ฉบับต่างๆ และหาช่องทางการสนับสนุนแผนเดินทางของเขา เขาจึงเดินทางไปขอความช่วยเหลือจากพระเจ้าเฟอร์ดินานด์แห่งอรากอน และพระนางอิสซาเบลลาแห่งกัสตีญา ซึ่งปกครองประเทศสเปนร่วมกัน แต่ในตอนแรกก็ได้รับการปฏิเสธด้วยเหตุผลเช่นเดียวกับพระเจ้าจอห์นที่ 2 แต่โคลัมบัสก็หาได้ละความพยายามไม่ เขาเพียรพยายามติดตามราชสำนักเพื่อขอให้ดำเนินการตรวจสอบแผนการเดินทางของเขา และรอคอยคำตอบจากราชสำนัก ในเวลานั้นเขาก็ได้แต่งงานกับสตรีผู้มีนามว่าเบียทริซ เดอรานา และให้กำเนิดบุตรคนที่สองแก่เขา และตั้งชื่อบุตรคนนี้ว่าเฟอร์นานโด
โคลัมบัสไม่ลดละความพยายามที่จะขอให้พระเจ้าเฟอร์ดินานด์แห่งอรากอน และพระนางอิสซาเบลลาแห่งกัสตีญาให้การสนับสนุนเขา จนในที่สุดแล้วก็ได้รับความช่วยเหลือพระเจ้าเฟอร์ดินันด์และพระนางอิสซาเบลลา ในวันที่19 เมษายน ค.ศ. 1492 โคลัมบัสบุตรชายช่างทอผ้าแห่งเมืองเจนัวก็ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นขุนนางแห่งเมืองกัสตีญา และได้รับตำแหน่งนายพลเรือ ทั้งสองพระองค์ได้พระราชทานเรือ 3 ลำและลูกเรือพร้อม เรือลำที่มีดาดฟ้ามีชื่อว่า “มารีกาลองค์” โคลัมบัสได้ตั้งชื่อใหม่ว่า “ซานตามาเรีย” เป็นเรือขนาด 233 ตัน มีลำเรือยาว 39 เมตร ส่วนเรือเล็กอีกสองลำชื่อว่า นิญา และปินตา ซึ่งมีระวางขับน้ำประมาณ 50 และ 60 ตันตามลำดับ

ลูกเรือในคณะของโคลัมบัสมีจำนวนไม่มาก เรือซานตามาเรียมีลูกเรือ 40 คน เรือปินตามี 26 คน เรือนิญามี 24 คน บางคนเป็นเพื่อนของโคลัมบัส แต่ส่วนใหญ่เป็นชาวชนบทจากแคว้นอันดาลูเซีย บ้างก็เป็นนักโทษประหารที่ได้รับการอภัยโทษแลกกับการเดินทางเสี่ยงเป็นเสี่ยงตายในครั้งนี้ โคลัมบัสเป็นกัปตันเรือซานตามาเรีย กัปตันเรือปินตาคือมาร์ติน อะลองโซ ปินซอน ซึ่งมีน้องชายอยู่ 2 คน คือ ฟรานซิสโก เป็นต้นหนเรือปินตา และวีเซนเต เป็นกัปตันเรือนิญา
เรือทั้งสามลำออกจากท่าเล็กๆ ในเขตปาโลส เด ลา ฟรอนเตรา ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศสเปน เมื่อตอนพลบค่ำของวันศุกร์ที่ 3 สิงหาคม ค.ศ. 1492 ซึ่งตรงกับช่วงสมัยของสมเด็จพระรามาธิบดีที่2 ในกรุงศรีอยุธยาตอนต้น เรือทั้งสามลำพร้อมลูกเรือนับ 90 คน ประกอบไปด้วยลูกเรือและคนใกล้ชิดของโคลัมบัส รวมทั้งบุคคลในราชสำนัก อาทิตัวแทนของสมเด็จพระราชินี ผู้ควบคุมการเดินทาง นายสันติบาลเรือซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ติดอาวุธทำหน้าที่เหมือนตำรวจ คนทำหน้าที่เขียนบันทึกการเดินทาง ล่ามประจำเรือ ฯลฯ นอกจากนี้ ขบวนเรือของโคลัมบัสยังขนชาวยิวไปด้วยอีกราว 30 คน ซึ่งเป็นชาวยิวที่ฉวยโอกาสขึ้นเรือมาด้วยเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกไต่สวนทางศาสนา เพราะในช่วงนั้นกษัตริย์สเปนบังคับให้ชาวยิวเปลี่ยนมานับถือศาสนาคริสต์ การเดินทางในครั้งนั้นเขาและลูกเรือจะต้องประสบกับความน่ากลัว เพราะคนในสมัยในยังเชื่อว่าใต้ท้องทะเลอันมืดมิดมีสัตว์ร้ายอาศัยอยู่ และพอโคลัมบัสออกเดินเรือเขาเริ่มเขียนบันทึกการเดินทางเล่าว่าแม้จะเฝ้ารอคอยปานใดก็ไม่มีอสุรกายแห่งท้องทะเลโผล่มาให้เห็น โคลัมบัสมีเครื่องไม้เครื่องมือที่ช่วยในการเดินเรือมากมาย แต่สิ่งที่ขาดไม่ได้คือเข็มทิศและเครื่องวัดตำแหน่งท้องฟ้า นอกจากนี้เขายังรู้จักวิธีคำนวณระยะทางโดยดูจากตำแหน่งของดวงอาทิตย์และดวงดาวต่างๆ อีกด้วย เขาเดินเรือตามเส้นทางที่คำนวณไว้ได้ค่อนข้างตรงทาง โดยอาศัยเครื่องวัดความสูงของท้องฟ้าและเข็มทิศ ส่วนการวัดความเร็วใช้วิธีโยนเศษไม้ลงน้ำตรงใกล้หัวเรือแล้วจับเวลาโดยใช้นาฬิกาทรายแล้วนำมาคำนวณ เวลาผ่านไป 3 อาทิตย์ ทุกคนอ่อนล้า สถานการณ์จึงตึงเครียด มีเค้าว่าลูกเรือจะลุกฮือขึ้นหลายครั้ง แต่ในที่สุดประกายของความหวังก็มีให้เห็นเมื่อย่างเข้าสัปดาห์ที่ 4 เพราะลูกเรือเริ่มสังเกตุเห็นนกที่กำลังโฉบเหยื่อในทะเล และเห็นเศษไม้กิ่งไม้ลอยอยู่ตามกระแส
พอตกกลางคืนเมื่อเวลาตี 2 ของวันที่ 12 ตุลาคม ยามบนหอคอยเรือปินตาก็เห็นฝั่งทะเลอยู่ห่าง 10กิโลเมตร เป็นเงาตะคุ่มอยู่ในแสงจันทร์ ลูกเรือโห่ร้องแสดงความยินดี ดินแดนแห่งนี้คือบาฮามาส และมีชาวพื้นเมืองที่มีผิวสีแดงอาศัยอยู่ เขาจึงเอาเรือเทียบฝั่งและขึ้นสำรวจประกาศเอาเป็นดินแดนเมืองขึ้นของสเปนเสีย โคลัมบัสขนานนามดินแดนแห่งนี้ว่า “ซานซัลวาดอร์” หลังจากนั้นเขาออกเดินเรืออีกครั้ง และใช้เวลาทั้งสิ้น 36 วันจึงได้พบแผ่นดินใหม่ และโคลัมบัสเชื่ออย่างสนิทใจว่าที่นี่คือหมู่เกาะที่มาร์โคโปโลเขียนถึงนั่นเอง
การพบเกาะครั้งนี้ ทำให้โคลัมบัสเชื่อว่าเขามาใกล้ประเทศจีนมากแล้ว เขาจึงออกเดินทางสำรวจจากเกาะหนึ่งไปยังอีกเกาะหนึ่งสืบต่อไปเพื่อหาทางไปสู่ประเทศจีนให้ได้ โดยโคลัมบัสคิดว่าตนเองพบเกาะที่อยู่ใกล้ญี่ปุ่น จากนั้นเขาเดินเรือต่อไปจนถึงคิวบา จนได้พบผู้คนผิวคล้ำซึ่งเขาเรียกว่า “ชาวอินเดีย” เพราะคิดว่าตนเองได้แล่นเรือมาถึงมหาสมุทรอินเดียแล้ว และเขาได้พบเห็นชาวพื้นเมืองนำใบไม้มามวนแล้วจุดไฟสูบ ซึ่งนั่นก็คือใบยาสูบนั่นเอง พอดีกับเสบียงอาหารจวนหมด เขาจึงยกกองเรือกลับสเปนเสียก่อน
สามเดือนภายหลังจากที่ค้นพบโลกใหม่เขากลับไปที่สเปนและนำเอาตัวอย่างทองคำและทรัพย์สมบัติอื่นๆและคนอินเดียพื้นเมือง 7 คน กลับไป โคลัมบัสได้รับการต้อนรับอย่างมีเกียรติ พระราชินีอิซาเบลลาประกาศถึงความสำเร็จนี้ว่า “มีความสำคัญ ยิ่งใหญ่เหลือคณา” และเชิญให้โคลัมบัสอยู่ในแถวหน้าสุดของคณะผู้ติดตามราชวงศ์ในงานราชพิธี และหลังจากนั้นเขาได้เดินทางกลับไปยังดินแดนใหม่ที่เขาพบอีกสามครั้ง โดยที่ไม่มีครั้งใดเลยที่เขาจะฉุกใจคิดว่า ดินแดนนี้คืออเมริกาในปัจจุบัน เพราะเขาเชื่อโดยสมัครใจว่าดินแดนที่เขาพบคือเอเชีย
โคลัมบัสเป็นชาวยุโรปคนแรกที่ได้เห็นและสัมผัสเมล็ดโกโก้ เขาสังเกตุว่าชนพื้นเมืองเก็บเมล็ดโกโก้ทุกเม็ดที่หล่นตามพื้นจนทำให้เขาคิดว่ามันมีค่ามาก แต่เมื่อเขานำมันกลับสเปนกลับไม่มีใครเห็นค่า จนกระทั่งอีก 2 ทศวรรษต่อมา นายพลคอร์เทสเป็นผู้นำเมล็ดโกโก้ กลับไปถวายพระเจ้าชาร์ลสที่ 5 ซึ่งเป็นกษัตริย์แห่งสเปนในสมัยนั้น ก่อนที่โกโก้จะแพร่หลายไปในประเทศอื่น ๆ เช่น ทรินิแดด ไฮติ เกาะต่าง ๆ ทางแอฟริกาตะวันตกและหมู่เกาะเวสต์อินดีส รวมไปถึงประเทศฟิลิปปินส์ อินโดนีเซียและศรีลังกาในเวลาต่อมา
การเดินทางครั้งสุดท้ายของโคลัมบัสสิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน ค.ศ. 1504 เมื่อเขาเดินทางกลับมาถึงเมืองซานลูกา เด บาร์ราเมดา ด้วยร่างกายที่อ่อนล้าและนัยน์ตาใกล้บอด
เมื่อ Columbus เดินทางกลับหลังจากการพบโลกใหม่ในการเดินทางครั้งแรกนั้น Columbus ได้รับการยกย่องมาก เช่น ได้นั่งบนหลังม้าติดตามกษัตริย์ Ferdinand อย่างใกล้ชิด หรือเวลาเข้าเฝ้าก็ได้นั่งใกล้พระองค์ อีกทั้งได้รับตำแหน่งฐานันดรศักดิ์เป็น Don ด้วย ดังนั้น สำหรับเด็กยากจนคนหนึ่งผู้เติบโตจากความยากไร้ การได้รับการยอมรับเช่นนี้ถือได้ว่าเป็นเกียรติยศสูงสุดแล้ว แต่ความสำเร็จ และความสุขของ Columbus ก็มิได้ยืนยง เพราะเขามีศัตรูมาจากเหตุผลที่ว่าเขาเป็นคนต่างชาติ และเป็นนักบริหารที่โหดเหี้ยมทารุณ ดังจะเห็นได้จากเหตุการณ์ที่เกิดบนเกาะ Hispaniola ที่ Columbus เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เมื่อชาวเมืองตั้งตัวเป็นกบฏ Columbus ได้สั่งประหารกลุ่มคนที่ต่อต้านเขาทุกคน การสังหารอย่างเลือดเย็นนี้ทำให้ชาวเมืองแค้นเคืองมาก
เมื่ออายุได้ 53 ปี สุขภาพของ Columbus เริ่มไม่ดี เช่น ตาทั้งสองข้างมีอาการเจ็บแสบ ทำให้ Columbus อ่านหนังสือไม่ได้ และป่วยบ่อย เพราะเป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ และเมื่อถูกรบเร้าด้วยโรคไขข้ออักเสบ สุขภาพจิตจึงไม่ดีตามไปด้วย การมีอารมณ์ปรวนแปรบ่อย ทำให้กษัตริย์ Ferdinand ทรงไม่โปรดปราน Columbus พระองค์จึงทรงไม่มอบตำแหน่งปกครองใดๆ ให้ Columbus อีก และทรงโปรดให้ Columbus เกษียณชีวิตทำงานที่เมือง Valladolid
ในเวลาต่อมา Columbus ใช้ชีวิตบั้นปลายอยู่ในความดูแลของครอบครัว และโหยหาการยอมรับจากสังคม รวมทั้งต้องการสมบัติ และอภิสิทธิ์ทุกรูปแบบจากกษัตริย์ดังที่ตนเคยได้รับในอดีต เมื่อถึงฤดูใบไม้ผลิปี 2049 Columbus วัย 55 ปี ได้ถูกโรคนานาชนิดคุกคามหนักจนเป็นโรคหัวใจ เนื้อตัวบวม แต่ก็มีสติดี จึงบอกบุตรชาย Diego ให้เตรียมสรรพสิ่งให้พร้อมสำหรับมารดาเลี้ยงจะได้ใช้ชีวิตยาม Columbus ตายไปแล้วอย่างเป็นสุข และเมื่อถึงเวลาใกล้สิ้นใจบุตรชาย Diego และ Ferdinand กับเพื่อนกะลาสีของ Columbus ที่เคยร่วมเดินทางไปพบโลกใหม่ ได้พากันมานั่งใกล้เตียง และ Columbus ได้เอ่ยกับบาทหลวงที่มาสวดอวยพรครั้งสุดท้ายว่า ขอมอบวิญญาณของตนให้พระผู้เป็นเจ้า
แล้วสิ้นใจเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2049 พิธีศพถูกจัดขึ้นที่เมือง Valladolid และศพถูกนำไปฝังที่ Santa Maria de las Cuevas ในเมือง Seville ในเวลาต่อมา กระดูกถูกนำไปเผาที่ Santo Domingo Santa Maria de las Cuevas ในเมือง Seville ภาพแกะสลักแสดง Columbus ขณะใกล้สิ้นชีวิตที่ Valladolid ในสเปน เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2049 แต่เมื่อเกิดสงครามระหว่างอเมริกา-สเปน กระบวนการยักย้ายถ่ายเทกระดูกมีความสับสนอลหม่าน จนกระทั่ง ณ วันนี้ไม่มีใครรู้ชัดว่ากระดูกของ Columbus อยู่ที่ใดแน่ คือที่ Seville Cathedral หรือที่ Santo Domingo หรือที่ Hispaniola
นอกจากปริศนาเรื่องศพแล้ว ระฆังที่กะลาสีเรือ Santa Maria ตีเมื่อเห็นแผ่นดินเป็นครั้งแรก ก็เป็นเรื่องที่ยังไม่มีคำตอบชัดเช่นกัน ในปี 2546 นักล่าสมบัติชาวสเปน โปรตุเกส และอิตาเลียน ต่างก็พยายามประมูลซื้อระฆังแตกที่สูง 25 เซนติเมตร และหนัก 14 กิโลกรัม อีกทั้งมีสนิมสีเขียวเกาะราคา 40 ล้านบาทนี้ แต่การประมูลถูกตำรวจสเปนสั่งระงับ เพราะไม่มีใครบอกได้ว่า ใครเป็นเจ้าของระฆัง และระฆังใบนี้เป็นตัวจริงหรือตัวปลอมกันแน่
ทั้งนี้เพราะบรรดาผู้รู้ประวัติความเป็นมาของระฆังอ้างว่า มันเคยอยู่บนเรือ Santa Maria และหลังจากที่ Columbus พบเกาะคิวบากับเกาะ Bahamas แล้ว เรือ Santa Maria ได้เกยหินโสโครกที่บริเวณนอกเกาะ Haiti ทำให้ Columbus ต้องสั่งให้คนอินเดียนแดงและกะลาสีถอดชิ้นไม้ส่วนต่างๆ ของเรือเพื่อนำไปทำที่พักให้กะลาสี 39 คนอาศัยบนเกาะ Haiti และเมื่อเขากลับไปเยือนแหล่งพำนักของกะลาสีเหล่านี้ในปีต่อมา เขาได้พบว่า กะลาสียุโรปถูกชาวอินเดียนแดงฆ่าตายหมด และระฆังของเรือ Santa Maria ถูกเผาจนดำ ในปี 2098 หลานชายของ Columbus ชื่อ Luis ได้นำระฆังขึ้นเรือ San Salvador ออกเดินทางจาก Puerto Rico มุ่งหน้าสู่ Seville ในสเปน แต่เรือได้อับปางลงกลางทาง พออีก 4 ศตวรรษต่อมา นายทหารเรือชาวอิตาเลียนชื่อ Roberto Mazzara ได้พบซากเรือที่อับปาง และระฆังในทะเล ณ ตำแหน่งที่ห่างจากฝั่ง Figueira da Fozin ของโปรตุเกสเป็นระยะทาง 150 เมตร เขาจึงรายงานให้รัฐบาลสเปน และโปรตุเกสรู้ แต่ไม่มีใครสนใจ จนกระทั่งเขานำระฆังขึ้นประมูลขายในปี 2545 แต่มีผู้สนใจระฆังใบนี้ประมาณ 10 คน ซึ่งถือว่าไม่มากเลย ถ้าระฆังนี้เป็นของจริง

นอกจากนี้ ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์บางคนก็มีความเห็นว่า เรือยุโรปในสมัยนั้นมักไม่มีระฆัง และการวัดอายุของระฆังใบที่ว่านั้นพบว่า ก็มีอายุเพียง 400 ปีเท่านั้นเอง ในขณะเดียวกัน รัฐบาลโปรตุเกสก็ได้ตั้งข้อกล่าวหาว่า Mazzara ขโมยหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของโปรตุเกสหนีออกนอกประเทศ ส่วนสเปนเองก็อ้างว่า ระฆังนั้นอยู่ในเรือสเปน ดังนั้น สเปนก็มีสิทธิเป็นเจ้าของเช่นกัน และไม่ว่าระฆังจะเป็นตัวจริงหรือตัวปลอม การประมูลซื้อขายก็เป็นเรื่องไม่ควรทำ เจ้าหน้าที่สเปนจึงมีความเห็นว่า ระฆังควรอยู่ในพิพิธภัณฑ์ แต่จะเป็นสมบัติของชาติใดนั้น ผู้เชี่ยวชาญกฎหมายยังตกลงกันไม่ได้ และในขณะเดียวกัน นักวิทยาศาสตร์กับนักประวัติศาสตร์ก็กำลังหาทางพิสูจน์ข้อมูลของระฆังใบนี้ต่ออยู่
ในวารสาร History ฉบับเดือนมีนาคมศกนี้ มีรายงานว่า Columbus เป็นคนที่ทารุณโหดร้ายมาก เพราะเมื่อเขากลับไปเยือนเมืองบนเกาะ Hispaniola เขาได้พบว่า กะลาสีที่ดูแลเมืองบางคนถูกชาวเมืองฆ่าตาย และบางคนก็ล้มป่วยจนกะลาสีทุกคนเสียชีวิตหมด เขาจึงสั่งฆ่าคนทั้งเมืองทันที
และจากความทุกข์ที่เกิดขึ้นทำให้ Columbus สั่งให้ค้นหาแหล่งซ่อนทองคำของกะลาสี และแสวงหาที่สำหรับสร้างเมืองใหม่ ดังนั้น เราจึงเห็นได้ว่า แม้ Columbus จะเสียชีวิตไปนานกว่า 500 ปีแล้ว แต่ชีวิตและผลงานของเขาก็ยังคงเป็นปริศนาให้คนรุ่นหลังขบคิด และศึกษาต่อไป และผลที่เกิดสืบเนื่องจากการที่มีบุคลิกซึ่งเขาเต็มไปด้วยความทะเยอทะยาน และโหดร้าย จนชื่อของทวีปใหม่ที่เขาพบหาได้ตั้งตามชื่อของเขาไม่ กลับไปตั้งตามชื่อเพื่อนของเขาที่ชื่อ Amerigo Vespucci ในปีที่ Columbus ตายนั่นเอง
เขาเสียชีวิตในวันที่ 20 พฤษภาคม ปี ค.ศ. 1506 ที่เมืองบาญาโดลิด และถูกฝังที่อารามใกล้เซวิลล์ โดยทิ้งให้ดีเอโก บุตรชายคนโตสืบบรรดาศักดิ์ต่อจากเขา หลังการสิ้นชีวิตของเขา พระเจ้าเฟอร์ดินานด์ได้ทรงสร้างรูปอนุสรณ์เพื่อเป็นการรำลึกถึงเขา โดยจารึกคำอุทิศว่า